งานมาตรฐาน

องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization-ISO) ได้ให้นิยามศัพท์ “การมาตรฐาน” คือ กิจกรรมในการวางข้อกำหนดที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาสำคัญที่มีอยู่หรือที่จะ เกิดขึ้น เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสำเร็จ สูงสุดตามข้อกำหนดที่วางไว้ มาตรฐาน (Standard) หมายถึง เอกสารที่จัดทำขึ้นจากการเห็นพ้องต้องกัน และได้รับความเห็นชอบจากองค์กรอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เอกสาร ดัง กล่าววางกฎระเบียบแนวทางปฏิบัติหรือลักษณะเฉพาะแห่งกิจกรรม หรือผลที่เกิด ขึ้นของกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสำเร็จสูงสุดตามข้อกำหนดที่วางไว้

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำนิยามของ "มาตรฐาน" ว่า มาตรฐาน คือ สิ่งที่ถือเป็นหลักสำหรับเทียบกำหนด

ที่มาของการจัดทำมาตรฐานงานด้านคนพิการ

กลุ่ม งานมาตรฐานองค์กรด้านคนพิการ ปัจจุบันอยู่ภายใต้ สำนักส่งเสริมศักยภาพและ สิทธิ เกิดขึ้นจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน พิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 5 ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการมีผู้แทนองค์กรคนพิการแต่ละประเภทและปลัด กระทรวงทุกกระทรวงเป็นคณะกรรมการฯ ให้เลขาธิการ พก. เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา 6 (10) กำหนดให้เป็นภารกิจหนึ่งของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่ง ชาติ ที่จะกำหนดมาตรฐานให้การรับรอง หรือ เพิกถอนการรับรององค์กรด้านคนพิการ หรือองค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด และพัฒนามาตรฐานการให้บริการสวัสดิการสังคมแก่คนพิการของหน่วยงานที่ให้ บริการช่วยเหลือและตอบสนองความต้องการจำเป็นขั้นพื้นฐานของคนพิการอย่างทั่ว ถึง เหมาะสม รวดเร็ว ครอบคลุม และเป็นธรรม อย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิที่คนพิการจะต้องได้รับและการมี ส่วนร่วมในสังคมอย่างเท่าเทียม ซึ่งการดำเนินงานกลุ่มงานมาตรฐานด้านคนพิการ จำเป็นต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย รูปแบบ วิธีการ แนวทางการจัดทำและพัฒนามาตรฐานงานด้านคนพิการทั้งตามที่กฎหมายที่สมควรกำหนด หรือจัดทำ เพื่อให้มีการดำเนินงานหรือจัดบริการ อย่างได้มาตรฐาน มีคุณภาพเหมาะสมกับความพิการ แต่ละประเภทและแต่ละช่วงวัย รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

วัตถุประสงค์ของการจัดทำมาตรฐานด้านคนพิการ

  1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ จัดทำและพัฒนามาตรฐานงานด้านคนพิการทั้งตามที่กฎหมายกำหนดและที่สมควรกำหนด หรือจัดทำ เพื่อให้มีการดำเนินงานหรือจัดบริการอย่างได้มาตรฐานสอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
  2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านคนพิการแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ปฏิบัติงานด้านคนพิการ

กรอบการกำหนดมาตรฐานด้านคนพิการ

การกำหนดมาตรฐานด้านคนพิการของสำนักส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ดำเนินงานภายใต้กรอบรายละเอียด ดังนี้

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ( พ.ศ. 2550-2554 ) ยุทธศาสตร์การพัฒนา คนและสังคมไทยสู่สังคมภูมิปัญญาและการเรียนรู้
  • พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 5 กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่หนึ่ง ตามมาตรา 6 (10) คือ กำหนดมาตรฐานให้การรับรอง หรือ เพิกถอนการรับรององค์กรด้านคนพิการ หรือ องค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการ
  • แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550-2554 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรด้านคนพิการและ เครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  • แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2551-2554 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ แห่งชาติ

การดำเนินงานมาตรฐานด้านคนพิการของ พก.

  • ปี 2547สำนัก งานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ(สำนักส่งเสริมและพิทักษ์คน พิการ(สทก.)เดิม) ได้จัดทำมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เพื่อเป็นคู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้บริการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในการดำเนินงานกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการที่มีคุณภาพ
  • ปี 2550ได้ ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการจดทะเบียนคนพิการ เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานจดทะเบียนคนพิการ ที่มีคุณภาพทั้งในด้านหน่วยงานให้บริการกระบวนการดำเนินงานและคุณภาพที่เกิด กับผู้รับบริการ
  • ปี 2551สำนัก งานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ(พก.)ได้กำหนดให้มีการจัดทำ มาตรฐานองค์กรด้านคนพิการขึ้น เพื่อให้องค์กรด้านคนพิการมีโครงสร้างการดำเนินงานที่เป็นระบบอย่างชัดเจน มีกลไกในการเชื่อมโยงการดำเนินงานด้านคนพิการให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน รวมทั้งสามารถส่งเสริมศักยภาพ ตลอดจนคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิคนพิการ รวมกันได้อย่างบูรณาการ